วันเสาร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  30  มกราคม  2557
ครั้งที่  9  เวลาเรียน  8:30 - 12:20
เวลาเข้าสอน  8:30  เวลาเข้าเรียน  8:30  เวลาเลิกเรียน  12:20

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
         วันนี้อาจารย์ได้ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมานำเสนอสื่อเกี่ยวกับคณิตศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
โดยออกมานำเสนอตามความสมัครใจ  กลุ่มไหนจะออกมาก่อนก็ำได้  ซึ่งมีทั้งหมด 20 กลุ่ม  โดยอาจารย์จะแจกกระดาษให้เขียนชื่อสื่อและรายชื่อสมาชิกในกลุ่มค่ะ  พอจะนำเสนอให้นำเอากระดาษที่อาจารย์แจกให้มาส่งอาจารย์  กลุ่มของดิฉันออกไปเป็นกลุ่มที่ 7  สื่อของกลุ่มดิฉันมีชื่อว่า  กล่องจับคู่ภาพกับตัวเลข  เป็นกล่องทั้งหมด 20 กล่อง นำมาจับคู่กันได้ทั้งหมด 10 คู่  โดย 10 กล่องแรกเป็นรูปตัวเลข 1 - 10 ด้านหลังจะเป็นรูปคำศัพท์ภาษาอังกฤษ 1 - 10 ส่วน 10 กล่องหลัง จะเป็นรูปต่างๆตามจำนวน 1 - 10  โดยทั้ง 20 กล่องนั้นจะติดเทปตีนตุ๊กแกไว้เพื่อให้เด็กได้เล่นจับคู่  วิธีการเล่น  ก็จะให้เด็กเล่นจับคู่ภาพกับตัวเลขที่กล่องให้สัมพันธ์กัน  ผลที่ได้รับเมื่อนำไปให้เด็กเล่น  กลุ่มของดิฉันได้ทดลองให้เด็กเล่นคนเดียว เล่นเป็นคู่ และเล่นเป็น กลุ่ม  จากการที่ให้เด็กเล่นคนเดียว เด็กก็สามารถเล่นได้โดยใช้วิธีการดูภาพและตัวเลขให้ตรงกัน  ส่วนการที่ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม เด็กก็สามารถเล่นได้ แต่เด็กมักจะสนใจกล่องที่เพื่อนเล่นอยู่มากกว่ากล่องของตนเอง เด็กจะคอยบอกเพื่อนว่าอันนี้ต้องคู่กับอันนู้นนะ  และจากการที่ให้เด็กเล่นเป็นกลุ่ม เด็กก็เล่นได้ในระดับหนึ่ง แต่เด็กก็จะแย่งกันเล่น  ปัญหาที่พบ  เทปตีนตุ๊กแกที่ใช้ติดกับตัวกล่องไม่ค่อยมีความคงทน 
สรุปทางคณิตศาสตร์  เด็กจะได้เรียนรู้ตัวเลข 1 - 10  ได้รู้ึคำศัพท์ภาษาอังกฤษเกี่ยวกับตัวเลข  ได้ฝึกการนับจำนวนจากรูปภาพ  เด็กได้พัฒนากล้ามเนื้อเล็ก  ได้มีปฏิสัมพันธ์ร่วมกับเพื่อน  และได้ฝึกประสานสัมพันธ์ระหว่างมือและตา
         สื่อที่ดิฉันชอบที่สุดในวันนี้ คือ สื่อที่ออกมานำเสนอเป็นกลุ่มที่ 4 มีชื่อสื่อว่า บอกเลขนับจำนวน
เป็นสื่อที่สอนเรื่อง จำนวนนับ 1 - 10 โดยทำคล้ายๆเป็นหนังสือ พอเปิดออกมาก็เห็นเหมือนบัตรคำจำนวน 1 - 10 และบัตรคำอีกชุดหนึ่งจะเป็นรูปปลาตามจำนวน 1 - 10 ค่ะ โดยใช้เทปตีนตุ๊กแกติดทั้งหมด

                                        

                                                         ชื่อสื่อและรายชื่อสมาชิกค่ะ

                                        

                                                    สื่อ กล่องจับคู่ภาพกับตัวเลขค่ะ

                                        

                                                         นำเสนอสื่อหน้าห้องเรียนค่ะ

                                        

                                      สื่อที่ดิฉันชอบที่สุดในวันนี้ค่ะ  สื่อ บอกเลขนับจำนวน

การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
       1.  สามารถนำสื่อไปใช้สอนเด็กปฐมวัยได้ในทางคณิตศาสตร์
       2.  สามารถสอนให้เด็กปฐมวัยผลิตสื่อทางคณิตศาสตร์อย่างง่ายได้
       3.  สามารถนำไปผลิตและจำหน่ายหารายได้พิเศษได้  
                     

วันอาทิตย์ที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  23  มกราคม  2557
ครั้งที่  8  เวลาเรียน  8:30 - 12:20
เวลาเข้าสอน  8:30  เวลาเข้าเรียน  8:30  เวลาเลิกเรียน  12:20

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
         วันนี้ได้เรียนในภาคปฏิบัติ  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน  และอาจารย์ก็แจกกระดาษที่เป็นตาราง  ข้างบนกระดาษเขียนว่า  แผนการจัดประสบการณ์  ชั้น.....  กิจกรรม.....
ต่อมาอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มช่วยกันคิดว่าจะเขียนแผนการจัดประสบการณ์ในระดับชั้นใดและจะจัดกิจกรรมใดให้กับเด็กปฐมวัย(โดยให้ตั้งชื่อกิจกรรม)  จากนั้นก็เขียนอธิบายแต่ละหัวข้อในตาราง  โดยจะมีหัวข้อ  ดังนี้  1. วัตถุประสงค์
                                   2. สาระการเรียนรู้  - ประสบการณ์สำคัญ  - สาระที่ควรเรียนรู้
                                   3. กิจกรรมการเรียนรู้
                                   4. สื่อ/แหล่งเรียนรู้
                                   5. การวัดและประเมินผล
                                   6. การบูรณาการ
กลุ่มของดิฉันเขียนแผนการจัดประสบการณ์ในระดับชั้น อนุบาล 3 ชื่อกิจกรรม รูปเรขาคณิตแปลงกาย
พอทุกกลุ่มเขียนแผนการจัดประสบการณ์เสร็จแล้ว  อาจารย์ก็แจกกระดาษที่เป็นตารางให้นักศึกษาทุกคนเขียนแผนการจัดประสบการณ์เป็นรายบุคคล  ดิฉันเลือกเขียนแผนการจัดประสบการณ์ในระดับชั้น  อนุบาล 3  ชื่อกิจกรรม เก็บของแสนสนุก  หลังจากที่ทุกคนทำการเขียนแผนการจัดประสบการณ์เสร็จแล้ว  อาจารย์ก็ทำการเก็บรวบรวมแผนการจัดประสบการณ์เป็นรายกลุ่มค่ะ

                                      

                                 กิจกรรม รูปเรขาคณิตแปลงกาย ระดับชั้น อนุบาล 3

                                     

                                       กิจกรรม เก็บของแสนสนุก ระดับชั้น อนุบาล 3

การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
      1.  สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเตรียมตัวก่อนการสอนเด็กปฐมวัยได้
      2.  สามารถนำความรู้ไปใช้ในการเขียนแผนการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยได้
      3.  สามารถเข้าใจกิจกรรมในการจัดประสบการณ์ให้กับเด็กปฐมวัยได้อย่างดียิ่งขึ้น


วันอังคารที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  16  มกราคม  2557
ครั้งที่  7  เวลาเรียน  8:30 - 12:20
เวลาเข้าสอน  8:30  เวลาเข้าเรียน  8:30  เวลาเลิกเรียน  12:20

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
         วันนี้ได้เรียนในภาคปฏิบัติ  อาจารย์ได้ให้ทำกิจกรรมทั้งหมด 2 กิจกรม ดังนี้
กิจกรรมที่ 1  อาจารย์ได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มกันประมาณ 5-6 คน  แล้วอาจารย์ก็แจกกระดาษ   กระดาษสีต่างๆ กาว สีไม้ สีเมจิก สีเทียน สีชอก์ค กรรไกรและแบบรูปร่างเรขาคณิตต่างๆ  ให้ทุกกลุ่มเรียงรูปร่างเรขาคณิต  โดยจะเรียงแบบใดก็ได้ แต่ให้สอดคล้องเกี่ยวกับสาระที่ 3 เรื่อง เรขาคณิตและสาระที่ 4 พีชคณิต เสร็จแล้วตกแต่งให้สวยงาม  แต่ละคนในกลุ่มก็จะมีหน้าที่แตกต่างกัน ดิฉันมีหน้าที่ติดกาวค่ะ  ผลงานของกลุ่มดิฉันมีชื่อว่า ปู๊น ปู๊น ปู๊นค่ะ พอทุกกลุ่มทำชิ้นงานเสร็จอาจารย์ก็ให้แต่ละกลุ่มออกมานำเสนอผลงานของกลุ่มตนเอง ว่าผลงานของกลุ่มตนเองนั้นสอดคล้องกับสาระที่ 3 เรื่อง เรขาคณิตและสาระที่ 4 เรื่อง พีชคณิตอย่างไรบ้าง ต่อมาอาจารย์ก็ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาหน้าชั้นเรียนพร้อมกับผลงานของกลุ่มตนเองแล้วถ่ายรูปร่วมกัน 

กิจกรรมที่ 2  อาจารย์ำได้ให้นักศึกษาจับกลุ่มกลุ่มละประมาณ 15-17 คน  แล้วอาจารย์ก็แจกกระดาษ สีไม้ สีเมจิก สีเทียนและสีชอก์ค  ต่อมาอาจารย์ได้ให้นักศึกษาดูตัวอย่างการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆของเด็กปฐมวัย  ซึ่งมีทั้งหมด 3 รูปแบบ  รูปแบบที่ 1  แบบเปรียบเทียบ  รูปแบบที่ 2  แบบแผนภูมิแท่ง  และรูปแบบที่ 3  แบบวงกลม  ต่อมาอาจารย์ก็ให้นักศึกษาแต่ละกลุ่มออกมาจับฉลากหน้าชั้นเรียนว่ากลุ่มไหนจะได้ทำการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลของเด็กปฐมวัยรูปแบบใด  
กลุ่มของดิฉันได้ทำการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลของเด็กปฐมวัยในรูปแบบที่ 1  แบบเปรียบเทียบค่ะ  กลุ่มของดิฉันเปรียบเทียบเรื่อง สัตว์บก สัตว์น้ำ  หลังจากนั้นอาจารย์ก็ได้ให้ทุกกลุ่มช่วยกันทำงานและตกแต่งให้สวยงาม  ซึ่งอาจารย์ให้เขียนเป็นรูปแบบร่างๆไว้ก่อน  พอทุกกลุ่มเขียนรูปแบบร่างๆและตกแต่งเสร็จแล้ว  อาจารย์ก็ให้นำการให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลของเด็กปฐมวัยทุกรูปแบบออกมาแปะที่กระดานหน้าชั้นเรียน  เพื่อที่จะได้ให้เพื่อนทุกคนได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมในครั้งนี้ด้วย  โดยให้เพื่อนๆสมมุติว่าตนเองเป็นเด็กปฐมวัย และเพื่อนแต่ละกลุ่มที่เป็นตัวแทนออกมาเป็นคุณครูคอยสอนเด็กปฐมวัยและคอยเขียนสิ่งที่เด็กปฐมวัยพูดมาทั้งหมดว่าสิ่งนั้นสิ่งนี้เป็นอย่างไร  พอแต่ละกลุ่มทำการสอนเด็กปฐมวัยและเขียนสิ่งที่เด็กปฐมวัยพูดมาทั้งหมดแล้ว  แต่ละกลุ่มก็ต้องทำการสรุปโดยรวมว่าเด็กส่วนใหญ่ตอบว่าอะไร  แต่ละอย่างที่เด็กปฐมวัยตอบมานั้นมีความเหมือนและความต่างอย่างไรบ้าง
พอทุกกลุ่มทำกิจกรรมเสร็จแล้ว  อาจารย์ก็ทำการสรุปการทำกิจกรรมทั้งสองกิจกรรมในวันนี้ในภาพรวม

                                                 

                                                              ดิฉันกำลังทากาวค่ะ

                                                 

                                                เสร็จแล้วค่ะ ชื่อผลงาน ปู๊น ปู๊น ปู๊นค่ะ

                                      

                                                           ผลงานของเพื่อนๆค่ะ

                                      

                           การให้ข้อมูลและการนำเสนอข้อมูลของเด็กปฐมวัยทั้ง 3 รูปแบบค่ะ

                                     

                                       ตัวแทนของกลุ่มดิฉันออกไปนำเสนอและสรุปค่ะ

                                     

                                              กลุ่มดิฉันได้รูปแบบที่ 1 แบบเปรียบเทียบ

การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
      1.  สามารถนำความรู้ที่ได้รับในวันนี้ไปใช้สอนเด็กปฐมวัยในอนาคตได้จริง
      2.  สามารถสอนเด็กปฐมวัยให้รู้จักรูปร่างเรขาคณิตต่างๆได้  (สาระที่ 3 เรื่อง เรขาคณิต)
      3.  สามารถสอนเด็กปฐมวัยให้รู้จักการเรียงลำดับต่างๆได้  (สาระที่ 4 เรื่อง พีชคณิต)
      4.  สามารถสอนเด็กปฐมวัยให้มีส่วนร่วมในการให้ข้อมูลและนำเสนอข้อมูลในรูปแบบต่างๆได้  (สาระที่ 5 เรื่อง การวิเคราะห์ข้อมูลและความน่าจะเป็น)

วันพุธที่ 15 มกราคม พ.ศ. 2557

บันทึกอนุทิน
วัน/เดือน/ปี  9  มกราคม  2557
ครั้งที่  6  เวลาเรียน  8:30 - 12:20
เวลาเข้าสอน  8:30  เวลาเข้าเรียน  8:30  เวลาเลิกเรียน  12:20

ความรู้ที่ได้รับในวันนี้
         วันนี้ได้เรียนภาคปฏิบัติอย่างเดียว ในคาบเรียนอาจารย์ให้นักศึกษาแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 5 คน แล้วอาจารย์ก็แจกกระดาษให้กลุ่มละ 1 แผ่น แจกสีไม้ สีเมจิก กาว  กรรไกร  แบบรูปทรงเรขาคณิตและกบเหลาดินสอ  อาจารย์ก็ให้นักศึกษาช่วยกันแต่งนิทานเกี่ยวกับรูปทรงคณิตศาสตร์  พอทุกคนช่วยกันแต่งนิทานจนเสร็จแล้วก็ช่วยกันตั้งชื่อเรื่องนิทาน  นิทานเรื่องนี้มีชื่อเรื่องว่า  สามเกลอเจอแก๊ส
โดยมีเนื้อเรื่องดังนี้  กาลครั้งหนึ่งมีเพื่อนสามสหายชื่อว่า  สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม  และวงกลม  ทั้งสามคนมีบุคลิกที่แตกต่างกัน  เจ้าสามเหลี่ยมมีอารมณ์ที่ขี้โมโห  เจ้าสี่เหลี่ยมเป็นคนใจกว้าง  และเจ้าวงกลมเป็นคนเจ้าชู้  วันหนึ่งเพื่อนสามคนนี้ได้ออกไปเที่ยวผับกัน  แต่พอเข้าไปแล้วเจ้าสามเหลี่ยมก็รู้สึกหงุดหงิด เพราะ กในผับเสียงดัง  เจ้าสี่เหลี่ยมก็อยู่เฉยๆ  ส่วนเจ้าวงกลมก็มัวแต่จีบสาว  คนในผับกำลังเคาท์ดาวน์กันอยู่  อยู่ๆก็มีแก๊สน้ำตาถูกโยนเข้ามาในผับ  เจ้าสี่เหลี่ยมก็เลยเป่านกหวีด  เพื่อบอกให้เพื่อนๆอยู่ในความสงบ  เจ้าวงกลมตะโกนบอกเพื่อนให้เอาผ้าปิดจมูก  เจ้าสามเหลี่ยมวิ่งไปจับคนที่ขว้างแก๊สน้ำตา  แล้วทุกคนก็ทยอยกันออกไปจากผับ  และทุกคนก็แยกย้ายกันกลับบ้านอย่างปลอดภัย
          ต่อมาอาจารย์ก็ได้ทำการแบ่งหน้า เพื่อที่จะให้นักศึกษาแบ่งกันวาดรูป ระบายสีและเขียนนิทานตามกลุ่มที่ได้เลือกไว้  ซึ่งแบ่งได้ทั้งหมด 9 หน้า ก็จะได้ทั้งหมด 9 กลุ่ม  กลุ่มของดิฉันได้ทำหน้าที่ 2
ซึ่งเป็นหน้าแรกของเนื้อหา  ดังนี้  กาลครั้งหนึ่งมีเพื่อนสามสหายชื่อว่า  สามเหลี่ยม  สี่เหลี่ยม  และวงกลม   ทั้งสามคนมีบุคลิกที่แตกต่างกัน  เจ้าสามเหลี่ยมมีอารามณ์ที่ขี้โมโห  เจ้าสี่เหลี่ยมเป็นคนใจกว้าง  และเจ้าวงกลมเป็นคนเจ้าชู้ค่ะ  หลังจากที่ทุกกลุ่มทำหน้านิทานของตัวเองเสร็จแล้ว  อาจารย์ก็ให้ตัวแทนของแต่ละกลุ่มออกมาหน้าชั้นเรียนพร้อมกับผลงานของกลุ่มตัวเอง และอ่านเนื้อหานิทานของกลุ่มของตัวเองค่ะ

                                                 

                                                   เนื้อหานิทานที่ทุกคนช่วยกันแต่งค่ะ

                                       

                                              ทุกคนช่วยกันทำงานอย่างขยันขันแข็งค่ะ

                                       

                                                            ผลงานของกลุ่มดิฉันค่ะ

                                       

                                                              รวมผลงานทุกกลุ่มค่ะ

การนำความรู้ไปใช้ประโยชน์
      1.  สามารถนำสื่อชิ้นนี้ไปใช้สอนเด็กปฐมวัยได้จริงในอนาคต
      2.  สามารถสอนเด็กปฐมวัยให้รู้จักรูปร่างเรขาคณิตได้จากสื่อชิ้นนี้
      3.  สามารถผลิตสื่อขึ้นมาเอง แล้วนำไปขายเพื่อหารายได้พิเศษได้
      4.  สามารถสอนให้เด็กปฐมวัยผลิตหนังสือนิทานอย่างง่ายได้ด้วยตนเองจากสื่อชิ้นนี้